วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ธรรมะเชิงอุปมา - อุปมัย หลวงพ่อชา สุภัทโท


...เป็นการเขียนเรียบเรียงจากธรรมะอุปมา - อุปมัยของ "หลวงพ่อชา สุภัทโท" โดยผู้เขียนนำมาย่อเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านทำความเข้าใจของผู้อ่านมากยิ่งขึ้น


ภาพที่ 1 



ภาพที่ 2


ข้อคิดจาก บทเพลงธรรมะ

  
บทเพลงธรรมะ "ที่ให้ข้อคิดต่างๆที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขแก่โลก"


วง... "จีวันBAND"












วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ชาดกเรื่อง "สามเณรบัณฑิต"



ชาดกเรื่อง "สามเณรบัณฑิต"

สามเณรบัณฑิต เกิดในตระกูลปัฎฐากของพระสารีบุตร มารดาของท่านแพ้ทองอยากจะถวายอาหารแด่พระสารีบุตรพร้อมทั้งพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เมื่อได้กระทำตามนั้นแล้วอาการแพ้ท้องก็หายไป

เมื่ออายุ ๗ ขวบ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้วได้ไปบิณฑบาตกับพระสารีบุตร ระหว่างทางเห็นคนชักน้ำจากเหมืองเกิดสงสัย จึงถามว่า "น้ำมีจิตใจหรือไม่" พระเถระตอบว่า "น้ำไม่มีจิตใจ" สามเณรจึงคิดว่า เมื่อคนสามารถชักน้ำซึ่งไม่มีจิตใจไปสู่ที่ที่ตนเองตอ้งการได้ แต่เหตุใดจึงไม่สามารถบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้

เดินต่อไปได้เห็นคนกำลังถากไม้ทำเกวียนอยู่ จึงถามว่า "ไม้นั้นมีจิตใจหรือไม่" เมื่อพระเถระตอบว่า "ไม้ไม่มีจิตใจ" สามเณรจึงคิดว่า คนสามารถนำเอาท่อนไม้ที่ไม่มีจิตใจมาทำเป็นล้อได้ แต่ทำไมไม่สามารถบังคับจิตใจได้

เดินต่อไปได้เห็นคนกำลังใช้ไฟลนลูกศรเพื่อจะดัดให้ตรง จึงถามว่า "ลูกศรนั้นมีจิตใจหรือไม่" เมื่อพระเถระตอบว่า "ลูกศรไม่มีจิตใจ" สามเณรจึงคิดว่า คนสามารถดัดลูกศรให้ตรงได้ แต่ไม่สามารถบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้

ทันใดนั้น สามเณรได้เกิดความคิดที่จะปฏิบัติธรรมขึ้น จึงได้ขอให้พระเถระนำอาหารมาฝากตนด้วย พระเถระได้รับปากและมอบลูกดาลให้พร้อมกับสั่งให้ไปปฏิบัติธรรมในห้องของท่าน สามเณรก็ได้ทำตามทุกอย่างและก็เริ่มบำเพ็ญสมณธรรม

เมื่อสามเณรบัณฑิตเริ่มบำเพ็ญสมณธรรม ท้าวสักกะตรัสเรียกท้าวมหาราชทั้ง ๔ ให้ห้ามพระอาทิตย์ไม่ให้หมุน ส่วนพระองค์ได้อารักขาที่สายยูเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง ระหว่างที่สามเณรนั่งบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น ภายในวัดจึงมีแต่ความสงบ จิตของท่านจึงมีอารมณ์แน่วแน่และได้บรรลุอนาคามิผล
ฝ่ายพระสารีบุตรเมื่อบิณฑบาตได้อาหารแล้ว ก็หวังจะนำอาหารไปให้สามเณร พระพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์ทุกอย่างด้วยพระญาณ จึงดำริว่าหากพระองค์ไม่เสร็จไปอารักขา สามเณรบัณฑิบจะไม่สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้จึงเสด็จไปอารักขาที่ซุ้มประตูวัด เมื่อพระสารีบุตรมาถึงตรัสถามปัญหา ๔ ข้อระหว่างที่พระพุทธเจ้าตรัสถามปัญหากับพระสารีบุตรนั้น สามเณรได้บำเพ็ญเพียรสมณธรรมและได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว จึงตรัสสั่งให้พระสารีบุตรนำอาหารไปให้สามเณร เมื่อสามเณรฉันภัตตาหารเช้าเสร็จ และนำบาตรไปล้าง บรรดาเทพยดาทั้งหลาย จึงหยุดการอารักขา พระอาทิตย์ ได้เคลื่อนไปเป็นเวลาบ่าย
พวกพระภิกษุเห็นเหตุการณ์จึงพูดคุยกัน พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าเวลาที่ผู้มีบุญบำเพ็ญสมณธรรมจะมีเทพยดาคุ้มครองป้องกันแม้แต่พระองค์เองก็ยังเสด็จไปช่วยอารักขา


ข้อคิดจากชาดก

"ความเป็นผู้ใผ่รู้และถามผู้รู้อยู่ตลอดเวลาจะทำให้เรามีความรู้และรู้อย่างถูกต้อง ความขยันหมั่นเพียรและปฏิบัติจะทำให้เราประสบความสำเร็จ"


ชมการ์ตูนชาดกเรื่อง "สามเณรบัณฑิต" ที่นี้

ขอบคุณบทความจาก : http://www.dhammathai.org

ขอบคุณภาพจาก : http://www.dhammajak.net

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ชาดกเรื่อง "สานุสามเณร"



ชาดกเรื่อง "สานุสามเณร"

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสามเณรชื่อสานุ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อิทํ ปุเร เป็นต้น

สานุสามเณร บวชเป็นสามเณรตั้งแต่เด็ก เมื่ออายุมากขึ้น มีความต้องการจะสึกออกไปเป็นฆราวาส จึงไปที่บ้านและขอเสื้อผ้าชุดฆราวาสที่จะสวมใส่จากโยมมารดา ข้างโยมมารดาไม่ต้องการให้สามเณรสึก และได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้เห็นโทษของการเป็นฆราวาส แต่สามเณรยืนกรานว่าจะต้องสึกให้ได้ โยมมารดาจึงบอกว่าจะจัดเสื้อผ้าให้แต่สามเณรต้องฉันภัตตาหารให้เรียบร้อยเสียก่อน ขณะโยมมารดากำลังตระเตรียมอาหารอยู่นั้นเอง นางยักษิณี ซึ่งเคยเป็นมารดาของสานุสามเณรมาตั้งแต่อดีตชาติ มีความคิดที่จะยับยั้งสามเณรไม่ให้สึกจึงเข้าสิงร่างของสามเณร ทำการบิดคอสามเณร จนตาสองข้างถลน น้ำลายไหลออกมาจากปาก ล้มลงที่พื้นดิน โยมมารดาออกจากครัวมาเห็นเช่นนั้นก็ตกใจ รีบช้อนบุตรให้มานอนบนตัก ส่วนพวกเพื่อนบ้านก็มาช่วยกันเซ่นสรวงบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เมื่อสามเณรฟื้นคืนสติมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนางยักษิณีและโยมมารดาของสามเณรได้ช่วยกันเตือนสติสามเณรให้มองเห็นโทษในการครองเรือน เช่น สอนว่าการเข้ามาบวชเป็นภิกษุหรือสามเณรนั้นก็เหมือนกับคนขึ้นมาจากเหวได้แล้ว การสึกออกไปเป็นฆราวาสก็เหมือนกับตกลงไปในเหวอีก คนมาบวชนั้นก็เหมือนกับสิ่งของที่จะถูกไฟไหม้ แต่ถูกยกหนีออกจากไฟได้สำเร็จ การสึกออกไปเป็นฆราวาสก็ไม่ผิดอะไรกับจะเอาสิ่งของนั้นไปใส่ให้ไฟไหม้อีกครั้งหนึ่ง และหากสามเณรสึกออกไปเป็นฆราวาสแล้วก็จะไม่สามารถพ้นจากทุกข์ได้ ในที่สุดทั้งสองนางก็สามารถชี้ชวนสามเณรได้สำเร็จ สามเณรรับปากว่าจะไม่สึกออกไปเป็นฆราวาส เมื่อโยมมารดาสอบถามอายุของสามเณรแล้วทราบว่าอายุครบบวชเป็นภิกษุได้แล้ว ก็ได้จัดแจงผ้าไตรจีวรและบาตร ให้เข้ารับการอุปสมบทเป็นภิกษุ

เมื่อได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุจากพระศาสดาแล้ว พระศาสดาได้ตรัสสอนเรื่องการข่มจิตแก่ภิกษุสานุผู้บวชใหม่ว่า “ธรรมดาว่าจิตนี้ เที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่างๆตลอดกาลนาน ชื่อว่าความสวัสดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ข่มจิตนั้นลงไปได้ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรทำความเพียรในการข่มจิต เหมือนนายหัตถาจารย์ทำความพยายามในการข่มช้างซับมันด้วยขอฉะนั้น”

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า

อิทํ ปุเร จิตฺตมจาริ จาริกํ
เยนิจฺฉกํ ยตฺถกมฺมํ ยถาสุขํ
ตทชฺชหํ นิคฺคหิสฺสามิ โยนิโส
หตฺถึ ปภินฺนํ วิย องฺกุสคฺคาโห ฯ

เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป
ตามอาการที่ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ และตามสบาย
วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ
ประหนึ่งนายควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมันฉะนั้น.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดาเป็นอันมาก ผู้เข้าไปเพื่อสดับธรรมพร้อมกับพระสานุ
พระคัมภีร์กล่าวถึงประวัติของพระสานุรูปนี้ต่อไปว่า ท่านเล่าเรียนพระไตรปิฎก และได้เป็นพระธรรมกถึกที่เชี่ยวชาญ ได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้ขจรขยายไปทั่วชมพูทวีป และได้ปริพพานเมื่อมีอายุได้ 120 ปี


ข้อคิดจากชาดก

บุคคลผู้ข่มจิตมิให้คล้อยตามกิเลสโดยง่าย จะเป็นผู้มีปัญญาไม่ลุ่มหลงไปกับความอยากในกิเลส




ขอบคุณบทความจาก :http://dhammapadasstories.blogspot.com

ขอบคุณ ภาพ จากอินเตอร์เน็ต